ศาสตร์เรื่องสั้น สำหรับนักหัดเขียนมือใหม่

ศาสตร์แห่งเรื่องสั้นและนิยาย
จำเป็นต้องมีพื้นฐานอยู่ 3 ประการคือ
1.ความขัดแย้ง – conflict
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีในนิยาย จะเป็นตัวแสดงความนัยให้เห็นทิศทางของนิยายเรื่องนั้น ทำให้เราได้รู้สึกว่านิยายเรื่องนั้นมีจุดมุ่งหมายไปยังที่ใด การควบคุมความขัดแย้งต้องมีวิธีการที่ดี แนบเนียนพิถีพิถัน สมจริงเพื่อความน่าเชื่อถือ
ความขัดแย้งในนิยายมีลักษณะที่จำเป็นต้องมีอยู่ 3 ประการคือ
1.1            จะเกิดความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในความขัดแย้งนั้น โดยเนื่องมาจากผลของการเข้ามาเกี่ยวข้องของตัวละคร ความขัดแย้งที่กำหนดเริ่มต้นไว้จะต้องค่อยๆเปลี่ยนสภาพไปจากที่เป็นในทางใดทางหนึ่ง
1.2            สองฝ่ายที่ขัดแย้งกันนั้นจะต้องมีกำลังเสมอกัน อันจะทำให้เกิดความสมดุลในโครงสร้างของเรื่อง นักเขียนที่มีฝีมือจะพยายามรักษาน้ำหนักการแพ้ชนะของทั้งสองฝ่ายให้ก้ำกึ่งกันอยู่ตลอดเรื่อง ความขัดแย้งที่ก้ำกึ่งไม่รู้ว่าใครจะอยู่ใครจะไปนี้จะทำให้คนอ่านเกิดความสงสัยและเร้าใจให้ติดตามไปจนตลอดเรื่อง ไปรู้ผลเอาจริงๆตอนที่เรื่องจบลง
1.3            นิยายเรื่องนั้นจะต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเรียกว่ามีเอกภาพ ทุกๆอย่างในนิยายนั้นไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ตัวละคร สาระสำคัญของเรื่อง เนื้อหา สัญลักษณ์ มุมมอง ตลอดจนเหตุการณ์ที่กำหนดให้เกิดขึ้นจะต้องเกี่ยวข้องผูกพันเป็นผลของกันและกัน
แต่ที่ขาดไม่ได้ในนิยายก็คือความสมจริง ความสมจริงคือคุณภาพของเรื่องๆนั้น ความสมจริงในที่นี้หมายความถึง สถานการณ์หรือภาวะเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นนั้น ตัวละครในเรื่องจะต้องมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์หรือแสดงออกสอดคล้องต้องตามวิสัยของมนุษย์โดยทั่วไป
2.ตัวละคร –character
บุคลิกของตัวละครมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการบอกถึงธรรมชาติหรือลักษณะของเรื่องบอกถึงพัฒนาการในเรื่อง ผลที่ปรากฏ และบอกถึงผลกระทบของความขัดแย้ง คนเขียนจะต้องมีวิธีการที่จะสื่อสารทางอ้อม คือจะต้องแสดงให้เห็นว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่บอกตรงๆง่ายๆว่ามันเป็นเช่นนั้น นักเขียนจะต้องแสดงบทบาทความเป็นตัวละคร เนื้อหา อารมณ์ด้วยการแสดงนัยหรือใช้เชิงการแนะนำ ผู้อ่านจะต้องอ่านแล้วคิดและสร้างภาพอารมณ์ขึ้นมาเอง
มีกฎทั่วไปที่เน้นความสมจริงของตัวละคร และความสมจริงของความขัดแย้ง คือตัวละครที่ดูสมจริงที่สุดก็คือตัวละครที่มีลักษณะของบุคคลโดยประมาณใกล้เคียงกับชีวิตคนจริงๆ ที่มนุษย์สังเกตและรับรู้ได้มากที่สุด หมายความว่าตัวละครนั้นจะต้องมีความแน่นอน มีพฤติกรรมที่แน่นอน ปัญหาที่เราจะประสานความแน่นอนของตัวละครไปกับภาวะวิกฤติ( climax) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ประการหนึ่งในการเขียนนิยายที่จะต้องเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลงของตัวละคร
กฎอีกข้อคือตัวละครที่สมจริงในนิยายจะต้องมีพัฒนาการ เพราะนิยายไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวละครแค่ว่าเป็นใคร ทำอไร แต่ยังต้องอยู่กับเหตุผลด้วยว่าเขาทำสิ่งนั้นๆทำไม ตัวละครในนิยายจะเปลี่ยนแปลงไปได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลที่สมควรมาสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ใช่นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนเฉยๆ คือพัฒนาการของตัวละครจะต้องเป็นเหตุเป็นผล
นักเขียนที่ดีจะหลีกเลี่ยงตัวละครที่แบนมีเพียงด้านเดียว ง่ายเกินไปเดาบุคลิกได้ นักเขียนที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างความสมจริงให้กับตัวละครจะต้องเข้าใจและสามารถที่จะจับจุดผลกระทบของความซับซ้อนผสมปนเปที่ว่านี้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
3.สารสาระ แก่นของเรื่อง –theme
บางเรื่องนั้นนักเขียนใช้โครงเรื่องเป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้เรื่องสนุกน่าติดตาม บางเรื่องนักเขียนใช้ตัวละครที่มีบทบาทโดดเด่นและบางเรื่องนักเขียนจะใช้นัยความหมายที่แฝงอยู่ในเรื่องสิ่งนี้คือ สารสาระ
เราอาจให้คำจำกัดความสารสาระว่าคือสมมุติฐานซึ่งกล่าวหรือแสดงนัยแฝงไว้กับการเล่าถึงสถานการณ์ที่กำหนดอันเกี่ยวข้องกับบุคคลที่กำหนด
สารสาระในนิยายที่ดีคือ
3.1ความคิดในเรื่องของสารสาระจะต้องไม่ใช่อันหนึ่งอันเดียวกับข้อกำหนดทางศีลธรรม คือต้องไม่ได้สั่งสอนแต่เผยให้เห็น ไม่การสวดมนต์ชี้ให้เห็นดีชั่วแต่เป็นการสื่อความหมายในเชิงศิลปะ
3.2สารสาระในนิยายที่ดีจะต้องไม่เป็นความจริงสั้นๆเพราะชีวิตของมนุษย์นั้นซับซ้อน นิยายสร้างสรรค์จะแสดงให้เห็นความซับซ้อนนั้นไม่ใช่ปิดบังอำพราง นิยายที่เห็นโดยทั่วไปอาจจะพยายามย้ำว่าความดีชนะความชั่วได้ในที่สุดแต่จากการสังเกตชีวิตที่เป็นไปเราจะรู้ว่านั่นอาจจะผิดจากความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้ที่เราหวังจะพบคำตอบเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกต้องของคำจำกัดความของคำว่าสารสาระในนิยาย
ข้อสังเกตที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาให้คำสรุปความหมายของสารสาระจากนิยาย
·      การลงความเห็นว่านิยายเรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่ต้องไม่ลืมว่าเนื้อหาของเรื่องนั้นไม่ใช่สารสาระ ในการลงความเห็นว่าความที่กล่าวนั้นคืออะไรให้ดูหรือวิเคราะห์จาก
3.2.1ตัวละครในเรื่อง จะต้องพิจารณาจากตัวละครในเรื่องว่าเป็นคนอย่างไรแบบไหน เป็นตัวแทนของอะไรสื่อความหมายถึงสิ่งใด
3.2.2 สถานการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องจะเป็นสิ่งที่บอกถึงสารสาระของเรื่อง สถานการณ์ที่เกิดกับตัวละคร ปัญหาที่ตัวละครเผชิญ
3.2.3 ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร
3.2.4    ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร
แค่นี้เราก็จะได้เค้าของสารสาระ แต่ต้องใส่ใจด้วยว่าสารสาระเป็นเพียงหนึ่งในสามของสิ่งจำเป็นพื้นฐานอันต้องมีในนิยาย มันไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อผลสำเร็จของนิยายได้อาจมีส่วนประกอบอื่นๆเพิ่มเข้ามาให้นิยายมีสีสันมากขึ้นไปอีก
มุมมอง – point of view
วิธีการพื้นฐานของนักเขียนร่วมสมัยทั่วไปคือการเล่าเรื่อง โดยใช้เครื่องมือคือ 1.การกระทำ 2.บทสนทนา 3.บทพรรณนา 4.บทแสดงความคิดเห็น 5.บทบรรยาย 6.มุมมอง ซึ่งมุมมองจะแยกประเภทไว้ดังนี้
·      บุคคลที่หนึ่งเป็นผู้เล่าเรื่อง
·      บุคคลที่หนึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์
·      นักเขียนเป็นผู้สังเกตการณ์
·      นักเขียนให้ตัวเองแทนตัวละครทุกตัว
หรือนักวิชาการอีกประเภทก็แบ่งไว้ดังนี้
·      มุมมองในแบบที่คนเขียนพูดและรู้สึกแทนตัวละครทุกตัว
·      คนเขียนพูดหรือรู้สึกแทนตัวละครเช่นกัน แต่ไม่ทุกตัวหรือไม่พูดหรือรู้สึกหมดหรือมากเท่ากับข้อแรก หรืออาจจะเป็นแบบบุคคลที่สามเป็นผู้เล่าเรื่องเป็นมุมมองของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจเป็นตัวละครเอกหรือตัวรองในเรื่องนั้น
·      มุมมองของบุคคลที่หนึ่ง ผู้เล่าเรื่องหรือบรรยายจะเป็นตัวเอกของเรื่องหรืออาจเป็นตัวละครที่ไม่สำคัญตัวอื่น
·      มุมมองภายนอก หมายความว่าถ้าหากเรื่องในนิยายนั้นเกิดขึ้นในวงกลม ผู้บรรยายหรือผู้เล่าก็เปรียบเสมือนอยู่นอกวงกลมมองเข้าไปและเล่าเรื่องตามภาพของเหตุการณ์ที่เห็น
ยังมีอีกทัศนะของนักวิชาการที่แบ่งไว้ดังนี้
·      มุมมองแบบนักเขียนรู้ไปหมด
·      มุมมองแบบบุคคลที่หนึ่ง
·      มุมมองแบบบุคคลที่สาม
โฟกัส – focus
นักเขียนจะต้องไม่เปลี่ยนมุมมองของตนอย่างเด็ดขาด โดยทั่วไปนักเขียนมีทางเลือกอยู่สองทางที่จะดำเนินการบรรยายหรือเล่าเรื่อง คือจะใช้บุคคลที่หนึ่ง (ผม ฉัน ข้าพเจ้า) หรือบุคคลที่สาม (เขา มัน เธอ)

1 ความคิดเห็น:

i green monkey กล่าวว่า...

เป็นความรู้มหาศาลที่ได้มาจากกองหนังสือมือสองตามตลาดนัด ^^

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก

ค้นหาบล็อกนี้

กด Like ให้กำลังใจได้นะคะ

ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ

นักเขียนฝึกหัดนามปากกา

i green monkey + อีก 3

ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ

รูปภาพของฉัน
Thailand
เป็นผู้หญิงที่พยายามฝึกหัดเขียนนิยายให้ดี เทียบเท่ากับความสามารถในการเลี้ยงหมาน้อยที่บ้านให้อ้วนเป็นลูกขนุน ^^
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้เยี่ยมชม

Followers


Recent Comments